Archive for ธันวาคม 25th, 2010

วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๏ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ๏ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า “สิน” พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗เป็นบุตรของ “ นายไหฮอง ” และ “ นางนกเอี้ยง ”ซึ่งพระยาจักรีได้ขอไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ยังเยาว์เมื่ออายุได้ ๕ ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส( วัดคลัง )โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจึงเรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เมื่ออายุได้ ๕ ปี พระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส( วัดคลัง )โดยเรียนหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ แล้วจึงเรียนพระไตรปิฎกจนแตกฉาน เมื่ออายุครบ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ )พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวรซึ่งเป็นบุตรของพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะไปเรียนวิชากับอาจารย์จีน อาจารย์ญวนและอาจารย์แขก จนสามารถพูดภาษาทั้งสามได้อย่างคล่องแคล่วเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาสพระภิกษุสิน อยู่ในสมณเพศได้ ๓ พรรษา ก็ลาสิกขาและกลับเข้ารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียม ภารกิจต่างๆเป็นอย่างดีจนสามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้จึงได้รับพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวงครั้น พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จ เสวยราชสมบัติได้ ๓ เดือนเศษก็ถวายราชสมบัติให้พระเชษฐาสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ ( สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือซึ่งนายสินปฏิบัติราชการได้สำเร็จเรียบร้อย จนมีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรม ก็โปรดให้เลื่อนเป็นพระยาตากเพื่อปกครองเมืองตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ของไทยโดยมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ปรากฎว่าพม่าตีเมืองทางใต้ได้อย่างง่ายดายจึงตีเรื่อยตลอดหัวเมืองทางใต้จน ถึงเมืองเพชรบุรีทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพไทยซึ่งมีพระยาโกษาธิบดีกับ พระยาตากไปรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ จนตีพม่าแตกถอยไปทางด่านสิงขรต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่ายกกองทัพมาตีไทยอีกพระยาตากได้มาช่วยรักษาพระนครไว้ได้จึงได้บำเน็จความ ดีความชอบในสงครามจึงโปรดให้เลื่อนเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแต่ยังไม่ทันได้ปกครองเมืองกำแพงเพชร ก็เกิดศึกกับพม่าครั้งสำคัญขึ้นจึงถูกเรียกตัวให้เข้ารับราชการในกรุง เพื่อป้องกันพระนครจนถึงปี พ.ศ. ๒๓๐๙ ขณะที่ไทยกับพม่ากำลังรบกันอย่างดุเดือดพระยาวชิรปราการ เกิดท้อแท้ใจหลายประการคือ ๑. พระยาวชิรปราการ คุมทหารออกไปรบนอกเมืองจนได้ชัยชนะยึดค่ายพม่าได้แต่ทางผู้รักษาพระนครไม่ ส่งกำลังไปหนุน ทำให้พม่าสามารถยึดค่ายกลับคืนได้ ๒. ขณะที่ยกทัพเรือออกรบร่วมกับพระยาเพชรบุรีนั้นพระยาวชิรปราการ เห็นว่าพม่ามีกำลังมากกว่าจึงห้ามมิให้พระยาเพชรบุรีออกรบแต่พระยาเพชรบุรี ไม่เชื่อฟัง ขืนออกรบ และพ่ายแพ้แกพม่าจนตัวตายในที่รบพระยาวชิรปราการ ถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งให้พระยาเพชรบุรีเป็นอันตราย ๓. ก่อนเสียกรุง ๓ เดือน พม่ายกทัพเข้าปล้นพระนครทางด้านที่พระยาวชิรปราการรักษาอยู่ เมื่อเห็นจวนตัวพระยาวชิรปราการจึงยิงปืนใหญ่ขัดขวางโดยมิได้ขออนุญาตจาก ศาลาลูกขุน จึงถูกฟ้องชำระโทษให้ภาคทัณฑ์ ด้วยสาเหตุดังกล่าว พระยาวชิรปราการเห็นว่าขืนอยู่ช่วยป้องกันพระนครต่อไปก็ไม่มีประโยชน์อันใด และเชื่อว่ากรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าในครั้งนี้เป็นแนด้วยผู้นำอ่อนแอ และไม่นำพาต่อราชการบ้านเมืองจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมออกจากค่ายพิชัย มุ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงนับว่าเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุง ศรีอยุธยาแล้ว บ้านเมืองเกิดแตกแยก หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นใหญต่างคนต่างรวมสมัครพรรคพวก ตั้งเป็นก๊กต่างๆ ได้แก่ก๊กสุกี้พระนายกอง ก๊กพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้าพระฝางก๊กเจ้าพระยานครศรีธรรมราช และก๊กเจ้าพิมาย พระยาวชิรปราการได้จัดเตรียมกอง ทัพ สะสมเสบียงอาหารศาสตราวุธ และกองทัพเรืออยู่เป็นเวลา ๓ เดือนก็ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา ตีเมืองธนบุรีแตกจับนายทองอินประหารแล้วเลยไปตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกยับเยิน สุกี้พระนายกองตายในที่รบ ขับไล่พม่าออกไปพ้นแผ่นดินไทยสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งใช้เวลากู้อิสรภาพกลับคืนจากพม่า ภายในเวลา ๗ เดือนเท่านั้น จากนั้น พระยาวชิรปราการจึงยกทัพกลับมากรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาที่๔”แต่ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า “พระเจ้าตากสิน” เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคมพ.ศ. ๒๓๑๑และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยและต่อจากนั้นพระเจ้าตากสินก็ยกกอง ทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ จนราบคาบทรงใช้เวลารวบรวมอณาเขตอยู่ ๓ ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๑ – พ.ศ. ๒๓๑๓ จึงได้อณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอณาจักรเดียวกันดังเดิมสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ สิริพระชนมายุได้ ๔๘ พรรษาทรงครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศชาติให้เป็น เอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า“มหาราช” คณะรัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้พร้อมใจกันสร้างอนุเสาวรีย์เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศ เกียรติคุณ ให้ปรากฎกับอนุชนตราบเท่าทุกวันนี้